ถ้าเราเป็นสถาบันขนาดใหญ่ ไดโนเสาร์(ใหญ่กว่าวาฬ 55) แล้วสามารถเล่นด้าน Short ได้ในตลาดรอง เราจะอยาก Short เมื่อราคาอยู่สูงพร้อมเทของเหรียญในตลาดหลัก ราคาลง กำไรสองเด้ง คือจากการขายเหรียญจริง กับ Short position ในตลาดรอง จากนั้นเราก็เริ่มสะสมเหรียญจริงในโซนราคาต่ำใหม่ (เพื่อเอาไว้ทำแบบเดิม)
โซนของการ Short ที่เราสนใจก็ต้องเป็นเมื่อราคาสูงมาก ถึงจะได้เปรียบ (และเรามีเหรียญจริงสะสมในมือที่มากพอจะสร้างความตกใจให้กับรายย่อยให้ขายตามได้) ยิ่งโซนราคาต่ำลง การไปพยายามกดลงไปอีกจะยิ่งเจอแรงซื้อต้านจากนักลงทุนมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เสียเปรียบมาก
ปริมาณ - จังหวะของสัญญา Short จึงสามารถเอามาตีความได้อย่างน่าสนใจ ว่าจังหวะไหนน่าจะเป็นจังหวะของวาฬ จังหวะไหนคือรายย่อยรวมตัวกัน Short ซึ่งถ้าหากปริมาณการ Short มีสูง ในโซนราคาต่ำ อาจเป็นจังหวะให้คนรอเล่นกลยุทธ์ ShortSqueeze (บีบให้คน Short มอบตัว) แล้วพฤติกรรมทางจิตวิทยาที่สัญญา Short ปิดหลายสัญญา ทำให้เกิดการซื้อเหรียญจริงไปคืน จะยิ่งทำให้เสริมความได้เปรียบในฝั่งซื้อ การดูจังหวะนี้อาจใช้เป็นอินดิเคเตอร์ที่มีแนวคิดคล้ายๆ Divergence ได้เช่นกัน
המידע והפרסומים אינם אמורים להיות, ואינם מהווים, עצות פיננסיות, השקעות, מסחר או סוגים אחרים של עצות או המלצות שסופקו או מאושרים על ידי TradingView. קרא עוד בתנאים וההגבלות.