SET : ย้อนมอง Price Pattern จากช่วงวิกฤต subprime และต้มยำกุ้ง

SET : ย้อนมอง Price Pattern จากช่วงวิกฤต subprime และต้มยำกุ้ง
=================
ตลาด มักจะเคลื่อนที่ในรูปแบบเดิมๆ
ดังนั้น การมองรูปแบบของราคาในอดีต เพื่อช่วยในการตัดสินใจเข้า order
ก็น่าจะปลอดภัยกว่า..

โดยในวันนี้ผมจะมานั่งวิเคราะห์รูปแบบของ Weekly Price Pattern
ในช่วงวิกฤตใหญ่ของตลาดหุ้นไทยที่ผ่านมา นั่นก็คือ ช่วงวิกฤต subprime ปี 2008
และวิกฤตต้มยำกุ้ง ปี 1998 ครับ


1) วิกฤต sub prime ปี 2008
תמונת-בזק

ถ้าเราดูโดยใช้ MACD เพื่อระบุ trend ขาลง เราจะเห็นได้ว่า จุดที่เริ่ม confirm trend ขาลง คือ MACD < 0 ที่แถวๆ ช่วงวันที่ 23 มิ.ย. 2008 และลากยาวไปจน MACD เปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน ที่แถวๆ 7 เม.ย. 2009 โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 288 วัน ในการสร้างฐานราคา


จากรูป จะเห็นได้ว่า เราเห็นแท่งแดงยาวๆ ใหญ่ๆ จาก 580 ลงมา 446 ในเวลาเพียงแค่อาทิตย์เดียว และหลังจากนั้นก็มีการลงต่อไปเรื่อยๆ จนทำ double bottom แล้วเด้งกลับ

תמונת-בזק
ในการเด้งกลับ ถ้าวัดแล้ว เราจะเห็นได้ว่า มันขึ้นจาก 380 ไปสูงสุดที่ 480 หรือชนเส้น EMA 18 แล้วก็ร่วงลงมาต่อ ที่ 400 .. ถ้าว่ากันตามรูปแบบของเวฟ ตรงนี้ก็คือ เวฟ 1-2 แบบ classic เลย เพราะมันเด้งแล้วย่อมาถึงแนว fibo 0.618 โดยไม่ทำ new low

ซึ่ง ตรง 400 นี้ น่าจะเป็นจุดเริ่มทยอยเข้าหุ้น แบบคุมความเสี่ยง โดยถ้า SET หลุด low 380 weekly ก็หนีต่อ นั่นเอง ( จะเห็นได้ว่า เสี่ยงแค่นิดเดียว )

ถ้ากลัวโดนหลอก เราสามารถรอเข้าตอนปิดวีค แท่งน้ำเงิน เหนือ EMA 18 + Action Zone ก็ได้เช่นกัน

หลังจากนั้น ตลาดหุ้นก็ขึ้นยาว..


2) วิกฤตต้มยำกุ้ง ปี 1996-1998
תמונת-בזק

วิกฤตรอบนี้เกิดจากไทยโดยตรง ทำให้กว่าจะฟื้นได้ก็ใช้เวลานานมาก แถมหลังจากนั้นก็เจอ วิกฤตดอตคอม มาซ้ำเติมอีก

รอบนี้ ตลาดหุ้น ลงจาก 1300 จุด ตอน MACD เริ่มวิ่งใต้ 0 และมาจบ เจอ bottom จริงๆ ตรง 200 จุด โดยใช้เวลาทั้งสิ้นถึง 882 วัน ( 2 ปีกว่า )

ถ้าเราสังเกตุกราฟ จะเห็นได้ว่า มีการ "เด้งหลอก" บ่อยมากๆ โดยจุดที่เด้งหลอกแบบรุนแรงมาก มีอยู่สองจุดด้วยกันคือ
2.1) เด้งหลอก ครั้งที่ (1) มิ.ย. 97 : ขาดทุนประมาณ 3-4%
תמונת-בזק


มีการเด้งมาในโซน EMA 18 +
แล้วหลังจากนั้นก็มีการย่อลงไปที่
0.786-0.887 fib
แต่ทว่า ก็ไม่สามารถไปต่อ
และกราฟปิดวีคด้วย new low
และหลังจากนั้นก็มีการลงต่อยาว

โดยช่วงหลังจากเด้งหลอกไปจนถึงการทำ new low ใช้เวลาทั้งสิ้น 133 วัน ( สี่เดือนกว่า )

2.2) เด้งหลอก ครั้งที่ (2) ม.ค. 98 : ขาดทุนประมาณ 3-4%
תמונת-בזק


การเด้งหลอกรอบนี้ น่าจะถือว่าเป็นการเด้งหลอกที่สุดแสบก็ว่าได้ เพราะว่า
- เด้งขึ้นมาจาก จุดต่ำสุดที่ 338 ขึ้นไป 500 ในเวลาเพียง 3 อาทิตย์ หรือขึ้นไปทั้งหมดเกือบ 47%
- ปิดแท่งสวย ด้วยการปิดเหนือ EMA 18 + action zone พร้อม bear div ก่อนหน้า
- จุด buy แรก ถ้าตามระบบ เราก็ต้องเข้า แต่ก็จะเห็นได้ว่า ไม้นี้ ถ้าต้อง Stop ก็จะต้อง stop ถึง -31% ( ยังไม่นับหุ้นรายตัว ) ทำให้ ถ้าเราต้องเข้าจริงๆ ก็ต้องเข้าได้แค่นิดเดียว
- จุด buy ที่สอง ที่ตรง 0.786 จะเห็นได้ว่า วีคถัดไปมันก็ลงต่อยาวเลย จนสุดท้ายก็ไปทำ new low ซึ่งถ้าตามระบบก็ต้อง stop ทุกไม้ออกมาดูลาดเลาก่อน

2.3) เด้งแล้วขึ้นจริง และไม่กลับมาอีกเลย
תמונת-בזק

หลังจากหลอกคนให้หมดตัว หรือขาดทุนหนักกันไปสองรอบ ทำให้การดีดรอบนี้ คนน่าจะระแวง และถอดใจกับหุ้นไทยกันไปเยอะมาก

โดยการดีดรอบนี้ ขึ้นมาจาก bottom ที่ 200 ไปที่สัญญาณ buy แรก ถึง +57% ( สัญญาณ buy แรก คือ แท่งวีค ปิดเหนือ EMA18 + Action zone )

ซึ่งถ้าเราเข้าแบบคุมเสี่ยง 1% สำหรับไม้แรก เราก็จะเข้าได้แค่เพียง 2.7% ของพอร์ตเท่านั้น

และถ้าเรารอให้ Action Zone Weekly เขียว แล้วค่อยเข้า อีก risk 1% เราก็จะเข้าได้อีกแค่ 2.5% ของพอร์ตเท่านั้น

รวมเบ็ดเสร็จแล้วประมาณ 5% ของพอร์ตใหญ่เท่านั้น

จะเห็นได้ว่า เอาจริงๆ ก็เข้าได้ไม่มาก ถ้าต้องคุมความเสี่ยง เพราะถ้าเราเข้าแบบไม่ยอมคุม เราก็จะขาดทุนหนักไปตั้งแต่การดีดหลอกสองครั้งแรกแล้ว

และถ้าเราต้องไปออกตอน Action Zone แดงแรก ตอน ตุ.ค. 99 เราก็จะได้กำไรแค่ +19% เท่านั้น .. และหลังจากนั้นเราก็จะโดนสับขาหลอกอีกรอบ เพราะวิกฤต ดอตคอม..ที่ทำให้ตลาดซึมไปอีกเกือบปี
תמונת-בזק

ซึ่งพอเข้ามาเจอวิกฤตดอตคอม เราก็จะเห็นได้ว่า กราฟก็ทำ pattern เดิมๆ อีกแล้ว นั่นก็คือ ลง แล้วก็เด้งหลอก แล้วก็ลงต่อแล้วก็เด้งหลอกอีกที กว่าจะลงสุดจริงก็ปาเข้าไปเกือบปี แถมหลังจากนั้นก็ sideway ต่ออีกปีกว่า กว่าจะพอเริ่ม take off จริงได้

สรุปสิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากการนั่งไล่ดูกราฟย้อนหลัง
1) ตอนลง ยังไงก็จะมีเด้งกลับ แต่ก็มักจะเป็นการเด้งหลอก
2) กว่ากราฟจะสร้างฐานเสร็จ มันใช้เวลา ไม่ต้องรีบร้อนเข้าก็ได้ เอาง่ายๆ แค่จากช่วงต่ำสุด มาช่วงยกโลว สัญญาณเข้าซื้อแรก ยังใช้เวลาเป็นเดือนๆ
3) ถ้าตกรถไม่ทันเวฟ 2 ก็จะยังมีจุดเข้าน่าสนใจคือ กราฟวีค ปิดเหนือ EMA 18 + Action zone + break out เหนือ high เดิมได้อีก
4) ในการเข้าซื้อทุกครั้ง ต้องมีแผนคุมความเสี่ยง แหละจุดยอมแพ้เสมอ เพราะอย่างตอนต้มยำกุ้ง จะเห็นได้ว่า พอกราฟมันย่อแล้วทำ new low มันก็ลงต่อแรง
5) เป็นไปได้ควรแบ่งไม้เป็นสองไม้ คือไม้ที่เข้าซื้อตอน week ปิดเหนือ EMA 18 + Action Zone แบบแรงๆ 1 ไม้ และไม้สองเข้าตอนมันย่อลง 0.618-0.786 โดยทั้งสองไม้นี้ จะต้องออกถ้าราคาปิด week new low ห้ามอิดออด และสองไม้นี้ max risk ควรอยู่ประมาณ 3-4%
6) มันก็มีบางจังหวะที่ขึ้นแล้วขึ้นไปเลยเหมือนกัน ดังนั้น จุดสำคัญคือ ไม้สองต้องเป็นไม้ที่ค่อนข้าง flexible และพร้อมเข้าถ้ามีสัญญาณซื้อแบบจริงๆ ( new high หรือ action zone เขียว )
7) ตอนนี้ได้ไอเดียคร่าวๆ เกี่ยวกับการดูกราฟ week แต่สุดท้าย เราก็ต้องไปดูหุ้นรายตัว หรือเทรดใน TF Daily อยู่ดี ซึ่งก็ต้องมาดูกันต่อไปว่า ระบบนี้ จะให้ผลที่ดีได้หรือไม่
setTrend Analysis

- ถ้าอยากดูผล Backtest ของกลยุทธนี้ ให้เปิดผ่าน web browser บน PC นะครับ
- ถ้าอยากติดตามเพจ ก็เข้าไปไลค์ได้ที่ facebook.com/inwcoin
- ทุกบทวิเคราะห์ ไม่ใช่คำแนะนำในการลงทุน เป็นเพียงการศึกษา Technical Analysis และบันทึกไว้เป็นหลักฐานของผมเองเท่านั้น
גם על:

כתב ויתור