22 במאי 2019
ตลาดหลักทรัพย์ไทย ทดสอบแนวรับ 1,600 จุด แรงซื้อที่เริ่มกลับเข้ามาหลังดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1,600 จุด ดัชนีตลาดปิดที่ 1,610.49 จุด เพิ่มขึ้น 2.38 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเริ่มกลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลเข้าหาแนวต้านที่ 1,630 จุด ต่างชาติเริ่มกลับมาซื้อสุทธิ การเมืองในประเทศยังเป็นตัวแปรต่อบรรยากาศการลงทุน ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกหลังรัฐบาลสหรัฐผ่อนคลายการแบนหัวเว่ยเป็นการชั่วคราว ปัจจัยทางเทคนิค จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆเหนือแนวรับ 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,599 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Harami ขาลงร่วมกับ Spinning Bottom ในเขตขายมากเกิน สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเริ่มกลับมาเป็นบวก จะหนุนแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร ส่งผลให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลเข้าหาแนวต้านที่ 1,622 จุด เส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) จะทำหน้าที่เป็นแนวต้านสำคัญเมื่อดัชนีตลาดปรับตัวขึ้น (เมื่อนำจุดต่ำที่ 1,546 จุด กับจุดสูงที่ 1,684 จุด มาวิเคราะห์หาแนวรับด้วย Fibonacci Ratio จะได้แนวรับดังนี้ 38.2% = 1,631 จุด, 50.0% = 1,615 จุด และ 61.8% = 1,599 จุด) จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีแนวโน้มที่จะจบคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (i) ที่ 1,684 จุด และกำลังปรับลดลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,600 – 1,590 จุด คลื่นปรับจะจบเมื่อเกิดสัญญาณ Bullish Divergence เป็นสัญญาณยืนยัน สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI และ MACD เป็นลบ โดยสัญญาณ RSI และ Modified Stochastic ปรับตัวเข้าเขตขายมากเกิน ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic กลับมาเป็นบวก จะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร ส่งผลให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,616 – 1,620 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,605 – 1,600 จุด กลยุทธ์การลงทุน รอสัญญาณ Bullish Divergence ก่อนกลับเข้าตลาด