Por : Technical Analysis

ตลาดหลักทรัพย์ไทย

ชะลอดูทิศทาง
บรรยากาศการซื้อขายหุ้นไทยส่งท้ายสัปดาห์ยังไร้ทิศทาง การติดเชื้อโควิด การเมืองและการขยายตัวทางเศรษฐกิจยังเป็นปัจจัยกดดันการลงทุน ดัชนีตลาดปิดที่ 1,582.67 จุด ลดลง 3.55 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.8 หมื่นล้านบาท ต่างชาติและนักลงทุนทั่วไปเป็นฝ่ายขายสุทธิ ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันศุกร์ที่ 25/6 ดัชนีดาวโจนส์และเอสแอนด์พี 500 ปิดตลาดในแดนบวก ขณะที่ดัชนีปิดตลาดในแดนลบ นักลงทุนมีมุมมองในทางบวกต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังการฉีดวัคซีน แม้ตลาดจะถูกคุกคามด้วยตัวเลขเงินเฟ้อ

ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะกลางที่ 1,575 จุด และมีจุดต่ำเก่าทำหน้าที่เป็นแนวรับถัดไปอยู่ที่ 1,569 จุด และมีเส้น MMA2 ทำหน้าที่เป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,596 จุด สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวลง หากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,569 จุด ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน

จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทำจุดสูงที่ 1,642 จุด กรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,605 จุด ดัชนีตลาดจะพักตัวอยู่ช่วงคลื่นปรับ (Collective wave) จากคลื่น (iii) พักตัวลงเป็นคลื่น (iv) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,568 จุด

สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ สัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวเข้าเขตขายมากเกิน ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,592 – 1,601 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,572 – 1,562 จุด

กลยุทธ์การลงทุน
ปรับพอร์ตการลงทุนหุ้นเหลือ 60 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากดัชนีตลาดปรับตัวลงปิดต่ำกว่า 1,605 จุด

#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Trend Analysis

כתב ויתור