16 במאי 2022
ทองคำนิวยอร์กวันศุกร์ที่ผ่านมาร่วงใกล้หลุด 1,810-1,800 ดอลลาร์ ตลาดทองคำนิวยอร์กยังคงเคลื่อนไหวปรับตัวลดลงต่อเนื่อง จากการแข็งค่าของดอลลาร์เหนือ 104 ทำให้ทองคำอยู่ในภาวะกดดันราคาลงจนหลุดระดับคาดการณ์ไว้หลายจุดด้วยกัน จนเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาทองคำปรับตัวลดลงต่ำสุดที่ระดับ 1,797.20 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในระหว่างวันทองคำสามารถรีบาวน์กลับมายืนเหนือระดับ 1,800 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้อีกครั้งโดยปิดระดับ 1808.20 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทั้งนี้การอ่อนค่าของทองคำยังคงอาจมีต่อเนื่องอีกสักระยะ เนื่องจากนักลงทุนยังคงให้ความสำคัญต่อดอลลาร์ จากการที่ตลาดหุ้นร่วงติดต่อกัน และ Bitcoin ที่โดนโจมตีจนเกิดความเสียหายอย่างหนัก ทำให้นักลงทุนแห่เข้ามาถือครองดอลลาร์กันไว้ก่อนในระยะนี้ เพราะปัจจัยเร่งเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยคงเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจเข้าซื้อดอลลาร์ของนักลงทุนในเวลานี้ ซึ่งส่วนตัวผมไม่เชื่อว่าดอลลาร์จะปรับแข็งค่าไปไกลมากนัก เพราะยังงัยระบบกลไกควบคุมค่าเงินก็ยังคงต้องนำออกมาใช้อยู่ดี แต่จะจบลงและเหมาะสมที่ตรงไหน นั่นคือสิ่งที่พวกเราต้องเฝ้ารอและหาคำตอบกันในประเด็นนี้ ในส่วนของทองคำนั้นหากพิจารณาจากกรอบรายวัน โอกาสที่ยังมองเห็นถึงการกลับมาของตลาดกระทิง (Bullish) นั้นยังต้องดูว่าระดับ 1,780 จะรับราคาสุดท้ายไว้ได้หรือไม่ (เกิดแนวรับที่ฟอร์ม harmonic pattern gartley) ถ้าทองคำสามารถทรงตัวได้ที่แนวทางดังกล่าว (Day) เราก็ยังพอจะมีลุ้นว่าทองคำอาจมีแรงซื้อระยะสั้นเข้าหนุนตลาดในจังหวะที่ราคาทองคำปรับตัวต่ำเช่นนี้ มันเป็นโอกาสของการเข้าซื้อเพื่อเก็งกำไรระยะสั้น ในตอนที่ดอลลาร์กำลังเข้าช่วงการปรับฐานราคาในระดับ 104-103 ตรงนี้เราอาจมองประเด็นการเข้าซื้อในระยะสั้นได้เช่นกัน โดยประเมินแนวต้านไว้ดังนี้ 1891, 1925, 1960 และ 2001 ตามลำดับ สัญญาตลาดทองคำ COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย. ปรับตัวลดลง 10.60 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หรือ 0.58% ปิดที่ระดับ 1,808.20 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ประเมินทางเทคนิคทองคำวันนี้ โบรกเกอร์ FXCM สำหรับทองคำในช่วงเช้าวันพรุ่งนี้คาดทองคำจะเคลื่อนไหวในกรอบมากกว่า เนื่องจากตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจของสหรัฐไม่มีรายงานในวันดังกล่าว โดยประเมินว่าหากราคาทองคำกรอบระยะสั้น (รายชั่วโมง) ยังไม่สามารถวิ่งขึ้นเหนือระดับ 1820 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้นั้น อาจเกิดการเทขายทองคำระยะสั้นออกมาอีกรอบประเมินแนวรับที่บริเวณ 1799 ดอลลาร์ต่อออนซ์ สำหรับกรอบรายวันจากที่ได้เกิด pattern ของ harmonic pattern gartley ขึ้นนั้น นักลงทุนสามารถเฝ้ารอติดตามเข้าซื้อทองคำได้ในช่วงเวลานี้ โดยเป้าหมายที่ควรจับตามองคือระดับแนวรับ 1780 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งถ้าไม่หลุดในแนวรับดังกล่าว แนะนำให้เข้าซื้อทองคำในระดับดังกล่าวเพื่อการเข้าเก็งกำไรระยะสั้นในรอบ =================================กลยุทธ์การเทรดทองคำกรอบรายชั่วโมง ================================= Short Position : หากราคาทองคำไม่สามารถผ่านแนวต้านบริเวณ 1817-1821 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้น้้น ให้เสี่ยงเปิด “ขาย” ในบริเวณดังกล่าว โดยเน้นการลงทุนระยะสั้น พิจารณาเป้าหมายกำไรที่แนวรับ 1798 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากราคาทองคำปรับตัวขึ้นสูงกว่า 1821 ดอลลาร์ต่อออนซ์) Long Position : หากราคาทองคำสามารถทรงตัวได้ที่บริเวณ 1798-1799 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ให้เสี่ยงเปิด “ซื้อ” ได้จากบริเวณดังกล่าว เน้นการลงทุนระยะสั้นเท่านั้น พิจารณาเป้าหมายแนวต้าน 1810 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากราคาทองคำปรับตัวต่ำกว่า 1798 ดอลลาร์ต่อออนซ์)แนวรับ แนวต้าน กรอบรายวัน (ระยะกลาง) ------------------------------------------- Resistance :1842 / 1891 / 1925 ------------------------------------------- Support : 1780 / 1701 / 1600 -------------------------------------------แนวรับ แนวต้าน กรอบรายชั่วโมง (ระยะสั้น) ------------------------------------------- Resistance : 1822 / 1834 / 1840 ------------------------------------------- Support : 1800 / 1799 / 1792 -------------------------------------------แนวโน้มทิศทางทองคำวันนี้ Time Frame H1 = Down trend Time Frame H4 = Down trend Time Frame Day = Down trend Time Frame Week = Up trend Time Frame Month = Up trend -------------------------------------------------กองทุน SPDR ถือครองทองคำ (เมษายน) ------------------------------------------------- สถานะการถือครองทองคำ = ล่าสุดลดลง -4.93 คงถือสุทธิ = 1,055.89 ตัน ราคาซื้อขายล่าสุด = 1,810.85 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ปรับการถือครองครั้งที่ = 9 รวมการเคลื่อนไหวล่าสุด = -38.66 ตัน ------------------------------------------------- *การลงทุนมีความเสี่ยงโปรดใช้วิจารณญาณให้รอบคอบก่อนการลงทุนทุกครั้ง **ข้อมูลจากการวิเคราะห์ไม่ได้เป็นเครื่องมือชี้นำระดมทุน เพียงเป็นเครื่องมือประกอบความรู้ในการลงทุนในแต่ละวันเท่านั้น จึงไม่มีส่วนต่อความรับผิดชอบใดๆ อันเกิดขึ้นในภายหลัง ***การวิเคราะห์เป็นเพียงสมมุติฐานค่าสถิติจากอดีต จึงไม่ได้เป็นเครื่องมือการันตี 100% ต่อการสร้างผลกำไรในอนาคต