OANDA:USDTHB   דולר ארה"ב/בהט תאילנדי
หลังจากที่ค่าเงินบาท แข็งค่าลงไปอยู่ที่ 29.716 บาท โดยประมาณ ซึ่งถือเป็นการแข็งค่ามากที่สุดในรอบ 7 ปี ที่ผ่านมา
นับตั้งแต่มีการอ่อนค่ามาในช่วงปลายปี 2013 จนมีข่าวออกมาในช่วงปลายๆเดือนมกราคม ถ้าผมจำไม่ผิด
ว่าน่าจะมีการแทรกแซงเงินบาท จนทำให้มีการอ่อนค่ามาอยู่ในช่วง 31.221 บาท ซึ่งเป็นราคาปิดของเดือน มกราคม 63 ที่ผ่านมา

แต่อย่างไรก็ตามนักลงทุนก็ยังคงเป็นกังวล เนื่องจากค่าเงินบาทนั้นยังคงอยู่ในระดับที่แข่งขันได้ยาก
ล่าสุดในวันนี้ ทางแบงก์ชาติ ลดดอกเบี้ยนโยบายเหลือ 1% เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
โดย มีมติลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% จาก 1.25% เหลือ 1.00% ซึ่งยังไม่เคยมีครั้งไหนที่มีดอกเบี้ยต่ำเท่านี้มาก่อน

ทั้งนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยให้เหตุผลไว้ว่า เป็นเพราะ เศรษฐกิจไทยอาจขยายตัวต่ำกว่าคาด จากผลกระทบต่างๆดังนี้
- ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019
- การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก
- ความล่าช้าของ พรบ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563
- ภัยแล้งภายในประเทศ

นอกจากนี้เสถียรภาพระบบการเงินมีความเปราะบางมากขึ้น จากแนวโน้มการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจรวมถึงเงินเฟ้อที่ต่ำกว่าเกณฑ์
ดังนั้น การลดดอกเบี้ยจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ บรรเทาภาระดอกเบี้ยแก่ภาคธุรกิจและครัวเรือน และทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นในอนาคต

=================================
ในส่วนปัจจัยเชิงเทคนิค

การปรับตัวขึ้นในช่วงเดือน มกราคา 2563 ที่ผ่านมา ทำให้เกิดสัญญาณ Bullish Divergence ในภาพรวมระยะยาว
ซึ่งบ่งบอกว่า การแข็งค่าของเงินบาทนั้นมีแนวโน้มที่จะพักตัว และกลับไปอ่อนค่ามากขึ้น
แต่อย่างไรก็ตาม การแข็งค่าในช่วงที่ผ่านมา ราคาได้มีการปรับตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 78.6 retracement
ซึ่งการกลับขึ้นไปนั้นมีความเป็นไปได้น้อย ที่จะขึ้นไปทำ จุดสูงสุดใหม่ เมื่อเทียบกับ จุดสูงสุดก่อนหน้าในช่วงเดือน ตุลาคม 2558

ดังนั้นสัดส่วนในการกลับขึ้นไปจะอยู่ที่ 61.8 - 100 Fib retracement หรือที่ 34.013 - 36.668 โดยประมาณ

ซึ่งทั้งปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยเชิงเทคนิค นั้นมีความสอดคล้องกัน โดยในระกลาง เงินบาทน่าจะมีโอกาสกลับไปอ่อนค่าที่ประมาณ 34 บาท ต่อ ดอลลาร์ได้ เพื่อช่วยกระตุ้นภาคเศรษฐกิจ และ ภาคการลงทุน ให้ดีขึ้นจากนี้

כתב ויתור

המידע והפרסומים אינם אמורים להיות, ואינם מהווים, עצות פיננסיות, השקעות, מסחר או סוגים אחרים של עצות או המלצות שסופקו או מאושרים על ידי TradingView. קרא עוד בתנאים וההגבלות.